September 20, 2024
เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรากินไฟเท่าไหร่

เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรากินไฟเท่าไหร่

เนื่องการสถานะการในช่วงนี้ ด้วยผมกระทบของ ไวรัสโควิด-19 คนทำงานส่วนใหญ่ทั้งพนักงานเงินเดือนและฟรีแล้นซ์ ต้องปรับเปลี่ยนการทำงานเป็นแบบ Work From Home มากขึ้น ซึ่งการทำงานที่บ้านก็ย่อมแน่นอนที่จะทำให้ค่าไฟเพิ่มขึ้นตามไปด้วย วันนี้จึงอยากนำความรู้มาให้เพื่อนมาได้ทราบว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรากินไฟเท่าไหร่บ้าง

ก่อนอื่นอยากให้เพื่อนๆได้ทำความเข้าใจก่อนว่า วัตต์ (watt) คือหน่วยวัดของพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะสังเกตได้จากคู่มือหรือป้ายระบุของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ เช่น เครื่องดูดฝุ่นขนาด 1000 วัตต์ หากใช้งานต่อเนื่อง 1 ชั่วโมง จะกินไฟ 1000 วัตต์-ชั่วโมง หรือ 1 หน่วย (ยูนิต) นั่นเอง และหากยิ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำอุณหภูมิร้อน หรือ เย็น ก็ยิ่งจะใช้กำลังไฟ (วัตต์) สูงซึ่งจะยิ่งทำให้กินไฟมากขึ้นด้วย

มาดูกันซิว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของเรากินไฟเท่าไหร่บ้าง

เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรากินไฟเท่าไหร่

เครื่องดูดฝุ่น

750-1,200 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 3-5 บาท

เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรากินไฟเท่าไหร่

เครื่องปรับอากาศ

1,200-3,300 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 5-13 บาท

เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรากินไฟเท่าไหร่

เตารีดไฟฟ้า

750-2,000 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 3-8 บาท

เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรากินไฟเท่าไหร่

เครื่องเป่าผม

400-1,000 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 2-4 บาท

เครื่องทำน้ำอุ่น

2,500-12,000 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 10-47 บาท

หม้อหุงข้าว

450-1,500 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 2-6 บาท

เครื่องปิ้งขนมปัง

800-1,000 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 3-4 บาท

เตาไมโครเวฟ

100-1,000 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 0.40-4 บาท

ตู้เย็น 7-10 คิว

70-145 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 25-60 สตางค์

พัดลมตั้งพื้น

20-75 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 10-30 สตางค์

เครื่องเล่น VDO

20-75 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 10-30 สตางค์

โทรทัศน์

80-180 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 30-70 สตางค์

เครื่องซักผ้า

3,000 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 12 บาท

มาดูวิธีคิดค่าไฟฟ้ากัน

สำหรับการใช้ไฟฟ้า 1 หน่วยหรือ 1 ยูนิตคือ เครื่องใช้ไฟฟ้า ขนาด 1,000 วัตต์ที่ใช้งานใน 1 ชั่วโมง ใช้สูตรการคำนวณดังนี้

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) ชนิดนั้นๆ X จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า หาร 1,000 X จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานใน 1 วัน = จำนวนหน่วย หรือ ยูนิต

ตัวอย่าง

มีหลวดไฟขนาด 40 วัตต์ (รวมบัลลาสต์อีก 10 วัตต์ เป็น 50 วัตต์) จำนวน10 ดวง เปิดใช้งานประมาณวันละ 6 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 50 X 10 หาร 1,000 X 6 = 3 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30X3) = 90 หน่วย

เท่านี้เพื่อนๆก็น่าจะลองคำนวณคร่าวๆได้แล้ว หรือยังมีข้อสงสัยยังไม่เข้าใจ ก็สามารถเข้าไปดูในเว็บการไฟฟ้านครหลวงได้เลยจ้า

สุดท้ายนี้ขอให้เพื่อนๆพี่ๆทุกคนใช้งานไฟฟ้าและทรัพยากรอื่นๆ กันอย่างประหยัดนะครับ เพื่อทรัพยากรเหล่านี้จะได้อยู่กับเราไปนานๆ